image

พาไปวัด

image
image
image

วัดกำแพงแลง

image
วัดกำแพงแลง
 

จังหวัดเพชรบุรี ไม่ได้มีแหล่งท่องเที่ยวแค่ชายหาดและทะเลเท่านั้นนะคะ เมืองเพชรบุรียังมีวัดเก่าแก่โบราณหลายวัดเชียวค่ะ วันนี้แอดมินจะพามาทำบุญและเยี่ยมชมวัดกำแพงแลง วัดเก่าแก่ใจกลางเมืองเพชรบุรีค่ะ

  วัดกำแพงแลงเป็นที่ตั้งของศาสนสถานเก่าแก่สมัยขอมโบราณ ซึ่งก็คือปราสาทวัดกำแพงแลง ตามหลักฐานแล้วสามารถระบุยุคสมัยของการสร้างปราสาทแห่งนี้ได้ว่าอยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 พ.ศ. 1734 ซึ่งเป็นปีที่ปรากฎอยู่ในจารึกปราสาทพระขรรค์ (เมืองกัมพูชา) และปรากฎชื่อเมืองว่า ศรีชัยวัชรปุระ ซึ่งปราสาทวัดกำแพงแลงแห่งนี้ถือเป็นศิลปกรรมแบบบยน อย่างแท้จริง

 

ปราสาทวัดกำแพงแลงนั้นเป็นศาสนสถานทางพระพุทธศานา ซึ่งแตกต่างจากศาสนสถานสมัยขอมโบราณแห่งอื่นๆในเมืองพระนครของกัมพูชาที่เป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์เสียเป็นส่วนใหญ่ (ยกเว้นศาสนสถานสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ)

เหตุที่ปราสาทแห่งนี้เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธก็เพราะว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ขอมโบราณสมัยนั้น ท่านนับถือพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายานค่ะ ปราสาทวัดกำแพงแลงแห่งนี้จึงสร้างถวายแด่พระพุทธรูปปางนาคปรกหรือ พระพุทธชัยมหานาท ปราสาทด้านทิศใต้สร้างถวายพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ปราสาททิศเหนือสร้างถวายแด่พระนางปรัชญาปารมิตา

 

ปราสาทวัดกำแพงแลงนั้นยังปรากฎลายประดับปูนปั้นศิลปะสมัยบายนที่สวยงาม ทั้งลายดอกไม้วงกลม ในส่วนของลายหน้าบัน ลายพญานาค 5 เศียรสวมกระบังหน้า และการนุ่งผ้าสมพตของภาพบุคคลในกลีบขนุน ก็แสดงถึงเอกลักษณ์ลวดลายของศิลปะสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ปัจจุบันปราสาทวัดกำแพงแลงนั้นปรางค์แต่ละองค์ประดิษฐานพระพุทธรูปให้เราได้กราบไหว้บูชา น้อมระลึกถึงพระคุณอันหาประมาณมิได้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ปราสาทวัดกำแพงแลงเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราได้ทราบว่าอิทธิพลของขอมโบราณในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้แผ่ขยายมายังภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งปราสาทกำแพงแลงแห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นปราสาทขอมโบราณที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทยอีกด้วยค่ะ

ที่วัดกำแพงแลงแห่งนี้เปิดให้ผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรมได้เข้าปฏิบัติธรรมได้นะคะ เป็นการปฏิบัติตามแนวทางการฝึก "อานาปานสติภาวนา" 

วันนี้พาไปวัดเราถวายปัจจัยทำนุบำรุงวัดกำแพงแลง และศาสนสถานของที่นี่ ขอมอบบุญนี้ให้แก่แฟนๆเพจได้อนุโมทนาร่วมกันนะคะ

 ติดตามพาไปวัดได้ที่ :

Facebook : https://www.facebook.com/papaiwatofficial
Instragram : https://www.instagram.com/papaiwatofficial
Twitter : https://twitter.com/papaiwatthai